ผู้ลงทะเบียน กยศ.ช่องทางการ เช็คยอดและชำระหนี้ 

การลงทะเบียน กยศ. 2566  หรือกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มุ่งเน้นเพื่อช่วยให้เป็นทุนเพื่อการศึกษา และค่าครองชีพระหว่างกำลังศึกษาโดยจะต้องลงทะเบียนผ่านระบบ e-Studentloan ในทุกๆภาคเรียนเพื่อจะได้ให้มีการตรวจสอบ และจัดส่งให้ผู้บริหารและจัดการเงินกู้ยืม ตามกำหนดการของสถาบันการศึกษา โดยจะต้องชำระคืนหลังจากจบการศึกษาไปแล้ว 2 ปีด้วยอัตราดอกเบี้ย 1%ต่อปี เป็นเวลา 15 ปีนับตั้งแต่เริ่มการชำระหนี้ กยศ. ในขณะที่ไม่ได้คิดดอกเบี้ยในช่วงระหว่างเรียนเลย

ในการลงทะเบียน กยศ. จะต้องลงผ่านระบบ e-Studentloan และในส่วนของการเช็คยอด กยศ. ด้วยบัตรประชาชนทางไหน และมีวิธีไหนบ้าง

  1. เช็คยอด กยศ.ผ่านเว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th โดยการลงทะเบียนขอสิทธิ์เข้าใช้งาน กรอกข้อมูลส่วนตัว อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ จากนั้นจะสามารถเช็คยอดที่จะต้องชำระ หรือแม้แต่รายการเดินบัญชีได้ แต่คนที่จะเข้าใช้งานได้จะต้องเป็นผู้ที่ลงทะเบียน กยศ. ผู้ที่มีภาระหนี้กองทุน และผู้ค้ำประกัน

  2. โดยการเช็คผ่านแอพพลิเคชั่น กยศ. Connect  วิธีนี้สามารถจะเช็คยอด กยศ.ด้วยบัตรประชาชน เมื่อโหลดแอพฯมาแล้วจะต้องลงทะเบียนขอสิทธิ์ใช้งาน ทำตามขั้นตอนในแอพฯจนครบ จากนั้นจะสามารถลงชื่อใช้งานได้ สามารถจะเช็คยอด กยศ. ด้วยบัตรประชาชน

  3. เช็คผ่านแอพพลิเคชั่นเป๋าตังค์ได้ เป็นแอพฯที่ใช้รองรับกลุ่มลูกค้า กยศ. ที่เรียนอยู่และเมื่อถึงกำหนดจะต้องชำระ โดยจะต้องผูกบัญชีกับธนาคารกรุงไทย เพื่อจะได้ดูข้อมูลได้

  4. เช็คได้จากหนังสือแจ้งภาระหนี้ ที่จะได้รับปีละครั้ง 

ช่องทางการชำระหนี้ กยศ.

  1. ผ่านธนาคารกรุงไทย โดยให้หักบัญชีธนาคาร และแอพพลิเคชั่น Krungthai Next, เป๋าตังค์, ตู้ ATM หรือจะไปจ่ายที่เคาน์เตอร์ธนาคารก็ได้ 

  2. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โดยการหักบัญชีเงินฝาก, ตู้ ATM, หน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร

  3. การชำระด้วยรหัสการชำระเงินผ่าน Barcode โดยผู้ลงทะเบียน กยศ.จะได้รับหนังสือแจ้งภาระหนี้  หรือสามารถพิมพ์รหัสชำระเงินเพื่อตรวจสอบยอดหนี้จากเว็บไซต์ กยศ. แล้วนำไปชำระผ่านเคาน์เตอร์ต่างๆ เช่น เคาน์เตอร์เซอร์ววิส, เคาน์เตอร์บิ๊กซี, ไปรษณีย์ไทย และธนาคารต่างๆ ที่รับชำระยอดหนี้ กยศ.

  4. ชำระคืนเงินกู้สำหรับผู้ลงทะเบียน กยศ. ผ่านกรมสรรพากร e-PaySLF โดยกองทุนได้มีพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา( กยศ.) พ.ศ. 2560 ได้กำหนดให้องค์กรนายจ้างทั้งภาครัฐและเอกชน จะต้องมีหน้าที่หักเงินได้ที่มาจากการจ้างแรงงานของพนักงานและลูกจ้างที่เป็นผู้กู้ยืมเงินนำส่งกรมสรรพากร พร้อมกับการนำส่งภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายเพื่อชำระหนี้คืนกองทุน โดยปัจจุบันได้มีการส่งหนังสือแจ้งการชำระหนี้กองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา โดยการหักบัญชีแล้ว รวมทั้งหมด 3 กลุ่ม

  • ผู้ที่ลงทะเบียน กยศ. และอยู่ระหว่างการชำระหนี้ปกติ

  • ผู้ที่ทำสัญญายอมความก่อนฟ้องคดี

  • สำหรับผู้ที่ทำสัญญาประนีประนอมความในศาล พิพากษาตามยอม

แบ่งปันสิ่งนี้
แบ่งปันสิ่งนี้
แบ่งปันสิ่งนี้
แบ่งปันสิ่งนี้